สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) Software Industry Promotion Agency (Public Organization) เรียกชื่อย่อว่า SIPA เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546
วัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงาน
วัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงานตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงาน ซึ่งสำนักงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสำนักงาน ที่กำหนดไว้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ การพัฒนาบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต และการให้บริการที่ได้มาตรฐานสากลรวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษี และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต่อคณะรัฐมนตรี
3. สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และจัดให้มีกฎ ระเบียบ และมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
4. ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์
5. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการดำนินการทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จ
วิสัยทัศน์(Vision)
วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึงความคาดหวังของสำนักงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นและมีความเป็นไปได้
อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบัน คือ
"SIPA จะนำพาประเทศไทยสู่เวทีซอฟต์แวร์โลก
(Stage Thailand as a global Player in Software Industry)"
พันธกิจ (Mission)
1. ส่งเสริม การเงิน การลงทุนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์
2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ
3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ ให้มีทักษะที่สูงและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
4. การส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)ในประเทศใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ
5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งด้านการตลาดและการพัฒนาซอฟต์แวร์/บริการซอฟต์แวร์ระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ต่างชาติ
6. ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์และผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยมาต่อยอดทางธุรกิจ
7. ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในผลิตภัณฑ์และบริการซอฟต์แวร์ที่คิดค้นโดยผู้ประกอบการไทยและให้บริการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ
“ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 จึงจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ICT ก็ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการให้กับ SMEs เพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นกลยุทธ์สำหรับส่งเสริมให้ SMEs ใน 6 อุตสาหกรรมหลักใช้ซอฟต์แวร์ไทย ”
ปัจจุบันมูลค่าตลาดการผลิตและบริการซอฟต์แวร์ในปี 2555 มีมูลค่ากว่า 55,000 ล้านบาท และในปี 2556 ตลาดการผลิตและบริการซอฟต์แวร์จะมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT) กว่า 5,000 ราย มีบุคลากรด้าน ITมากกว่า 23,000 ราย อุตสาหกรรมมีการเติบโตมากกว่า 17.2% โดยซอฟต์แวร์ประเภท Enterprise Software เป็นประเภทซอฟต์แวร์มีมูลค่าสูงที่สุด มีมูลค่า 17,865 ล้านบาท ในปี 2554 และคาดว่าจะมีมูลค่า 20,688 ล้านบาทในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ซอฟต์แวร์ประเภท Mobile Application มีมูลค่าการผลิตน้อยที่สุด โดยมีมูลค่า 1,065 ล้านบาทในปี 2554 และคาดว่าจะมีมูลค่า 1,447 ล้านบาทในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 แสดงให้เห็นว่า Mobile Application จะมีอัตราการผลิตที่ขยายตัวสูงที่สุด ซอฟต์แวร์ประเภท Software Services มีมูลค่า 10,488 ล้านบาทในปี 2554 คาดว่ามีมูลค่า 12,346 ล้านบาทในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7
มูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จำแนกตามภาคเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคการเงินและการธนาคาร ภาคโทรคมนาคม ภาคการศึกษา ภาคพลังงาน ภาคการขนส่ง และ โลจิสติกส์ ภาคการผลิตและแปรรูปอาหาร ภาคยานยนต์และชิ้นส่วน ภาคการแพทย์และสารธารณสุข ภาคธุรกิจค้าปลีก ภาคการท่องเที่ยว ภาคอัญมณี และอื่น ๆ